อิศรญาณภาษิต

บทที่ ๑
                                                            
                                                                อิศรญาณชาญกลอนอักษรสาร
               เทศนาคำไทยให้เป็นทาน              โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี 

ถอดความได้ว่า   หม่อมเจ้าอิศรญาณผู้ทรงเชี่ยวชาญในเชิงกลอนทรงนิพนธ์คำกลอนสุภาษิตโบราณ สั่งสอนเตือนใจไว้เพื่อเป็นทาน 
                                                             บทที่ ๒
สำหรับคนเจือจิตจริตเขลา            ด้วยมัวเมาโมห์มากในซากผี 

ถอดความได้ว่า   สำหรับคนที่โง่เขลาเบาปัญญาที่ไปลุ่มหลงในความชั่วต้องฝึกใจให้รู้เท่าทันกิเลส คือ เอาใจเป็นนายบังคับใจตัวเองให้อยู่เหนือกิเลส เพื่อจะ ได้เป็นพาหนะไปสู่ความสุข

บทที่ ๓
                ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า        น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย
      เราก็จิตดูเล่าเขาก็ใจ                                        รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ

ถอดความได้ว่า   ผู้ชายกับผู้หญิงนั้นต่างกันดังข้าวเปลือกกับข้าวสาร(โบราณเขาเปรียบเทียบว่าผู้ชายเปรียบเสมือนข้าวเปลือกตกที่ไหนก็เจริญงอกงามที่นั่น ส่วน ผู้หญิงก็เปรียบเสมือนข้าวสาร ตกที่ไหนมันไม่ สามารถเจริญงอกงามได้ข้าวสาร ก็เน่า แต่เมื่ออยู่ในสังคมเดียวกันก็ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยกันเป็นธรรมดา เราก็มีมิตรจิตเขาก็มีมิตรใจฉะนั้นเรารักกันดีกว่าเกลียดกัน

บทที่ ๔
              ผู้ใดดีดีต่ออย่าก่อกิจ                         ผู้ใดผิดผ่อนพักอย่าหักหาญ
      สิบดีก็ไม่ถึงกับกึ่งพาล                 เป็นชายชาญอย่าเพ่อคาดประมาทชาย

ถอดความได้ว่า   ผู้ใดทำดีต่อเราเราก็ควรทำดีต่อเขาตอบ ผู้ใดที่ทำไม่ดีต่อเราหรือทำไม่ถูกต้องก็ไม่ควรโกรธหรือตัดรอน จนแตกหัก ทำความดีสิบครั้ง ก็ไม่เท่าทำความชั่วครึ่งครั้ง คือ ความชั่วจะทำลายความดีลงจนหมดสิ้น เป็นชายนั้น ไม่ควรดูถูกชายด้วยกัน     

                                                            บทที่ ๕
              รักสั้นนั้นให้รู้อยู่เพียงสั้น                    รักยาวนั้นอย่าให้เยิ่นเกินกฎหมาย
      มิใช่ตายแต่เขาเราก็ตาย                            แหงนดูฟ้าอย่าให้อายเทวดา

 ถอดความได้ว่า   รักจะอยู่ด้วยกันสั้น ๆ ก็จงทำสิ่งไม่ดีต่อไป แต่ถ้าเราจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ จงทำความดี อย่าทำในสิ่งที่ผิด กฎหมายหรือทำชั่ว ทุกคนต้องตาย ด้วยกันทั้งนั้น  จงทำความดีไว้เถิด เวลาที่แหงนดูฟ้าจะได้ไม่อายเทวดา
บทที่ ๖
              อย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อย                           น้ำตาลย้อยหยดเท่าไรได้หนักหนา

ถอดความได้ว่า   อย่าดูถูกความดีหรือความชั่ว ว่าทำเพียงเล็กน้อยเพราะมันจะสะสมไปเรื่อย ๆ และมากขึ้นทุกทีเวลาก่อนจะนอนให้ส่องกระจกดูหน้าตนเอง ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เหมือนเป็นการให้สำรวจจิตใจตนเองอยู่เป็นนิจ ว่าคิดใฝ่ดีอยู่หรือเปล่า  เพื่อจะได้เตือนตนไว้ได้ทัน  (เป็นการเตือนให้เรารู้จักคิด พิจารณา สำรวจตัวเองทุกๆวัน)
                                            
บทที่ ๗
                      เห็นตอหลักปักขวางหนทางอยู่                      พิเคราะห์ดูควรทึ้งแล้วจึงถอน
            เห็นเต็มตาแล้วอย่าอยากทำปากบอน          ตรองเสียก่อนแล้วจึงทำกรรมทั้งมวล

ถอดความได้ว่าเห็นสิ่งใดกีดขวางทางอยู่ จงพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะเก็บ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ และเมื่อไป เห็นการกระทำของใคร อย่าเที่ยวทำปากบอนไปบอกแก่คนอื่น อาจนำผลร้ายมาสู่ตนเองได้(สอนว่า ให้รู้จักคิดใคร่ครวญ ไตรตรองก่อนจะพูดหรือทำสิ่งใด )

บทที่ ๘
                       ค่อยดำเนินตามไต่ผู้ไปหน้า             ใจความว่าผู้มีคุณอย่าหุนหวน
             เอาหลังตากแดดเป็นนิจคิดคำนวณ              รู้ถี่ถ้วนจึงสบายเมื่อปลายมือ

ถอดความได้ว่าให้ประพฤติปฏิบัติตนตามผู้ใหญ่ซึ่งเป็นผู้ที่เกิดก่อนย่อมมีความรู้และประสบการณ์มากกว่าและอย่าเป็นคนอกตัญญูจงมีความขยันหมั่นเพียรทำงานอยู่เสมอแล้วจะมีความสุขสบายในภายหลัง
บทที่ ๙
                       เพชรอย่างดีมีค่าราคายิ่ง                     ส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาหรือ
             ต่อผู้ดีมีปัญญาจึงหารือ                                 ให้เขาลือเสียว่าชายนี้ขายเพชร

ถอดความได้ว่า เพชรเป็นของที่มีค่ามีราคา อย่านำสิ่งที่มีค่าไปให้แก่ผู้ไม่รู้ค่าย่อมไร้ประโยชน์ ฉะนั้นควรไปปรึกษาหารือ กับนักปราชญ์ หรือผู้รู้ เท่านั้น เพื่อให้คนเขาร่ำลือว่า ตนเองมีปัญญาราวกับมีเพชร
มากพอที่จะอวดได้
บทที่ ๑๐
                       ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า          ใครใดเล่าจะไม่งามตามเสด็จ
            จำไว้ทุกสิ่งจริงหรือเท็จ                           พริกไทยเม็ดนิดเดียวเดี๋ยวก็ร้อน

ถอดความได้ว่า   ของสิ่งใดก็ตามที่พระเจ้าแผ่นดินเห็นว่าเป็นสิ่งดีหรือสิ่งที่สวยงาม เราก็ต้องว่างามตามไปด้วย  ไม่ว่าจะ จริงหรือไม่จริง เราไม่ควรไปคัดค้านเพราะท่าน เป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดอาจกริ้วได้

บทที่ ๑๑
                     เกิดเป็นคนเชิงดูให้รู้เท่า                 ใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน
            อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร           ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ

ถอดความได้ว่า   คนบ้ายอชอบให้คนเขานิยมยกย่องเปรียบเหมือนคนไม่อยู่กับร่องกับรอย ซึ่งแก้ไขได้ยาก  อันว่ายศ หรือตำแหน่ง นั้น มันไม่ใช่เหล้าจงเมาแต่พอควร อย่าไป ยึดติด หลงยศหลงตำแหน่ง  คำป้อยอต่าง ๆ นั้น ถ้าเรา หลงเชื่อ อาจทำให้เราเดือดร้อนได้

บทที่ ๑๓
                             บ้างโลดเล่นเต้นรำทำเป็นเจ้า         เป็นไรเขาไม่จับผิดคิดดูขัน
                ผีมันหลอกช่างผีตามทีมัน              คนเหมือนกันหลอกกันเองกลัวเกรงนัก

ถอดความได้ว่า   บางคนทำทีว่าถูกผีเข้าสิง  คือพวกทรงเจ้าเข้าผี ทำไมไม่มีใครจับ ดูไปก็น่าหัวเราะถ้าเป็นผีจริงมันหลอกก็ช่างมันเถิด แต่นี่คนมาหลอกกันเองมันน่ากลัวที่สุด ฉะนั้นจึงควรแยกแยะให้ดี อย่าเชื่อในสิ่งที่ตาไม่เห็น เพราะทีเห็นนั้นอาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด

บทที่ ๑๔
                             สูงอย่าให้สูงกว่าฐานนานไปล้ม    จะเรียนคมเรียนไปเถิดอย่าเปิดฝัก
                   คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก           ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา

ถอดความได้ว่า   จะสร้างสิ่งใดให้สูงก็อย่าสร้างเกินว่าฐานที่จะรับน้ำหนักไว้ได้ เพราะจะทำให้ล้มง่าย
   (สอนให้รู้จักประมาณ ตน ไม่ให้ทำอะไรเกินฐานะของตนเอง) จะเรียนวิชาอะไรให้มีสติปัญญา
เฉียบแหลม ก็เรียนเถิด แต่ให้เก็บความรู้ไว้ใช้เมื่อถึงเวลาอันสมควร (สอนให้เป็นคนใฝ่รู้แต่อย่า
อวดรู้) คนแก่มีประสบการณ์มากเราควรเชื่อฟังคำทักท้วง (สอนให้เห็นความสำคัญของผู้มีอาวุโส)

บทที่ ๑๕
                         เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด         ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา
             ใครทำตึงแล้วหย่อนผ่อนลงเอา        นักเลงเก่าเขาไม่หาญพาลนักเลง

ถอดความได้ว่า   ประพฤติตนตามแนวทางที่ผู้ใหญ่เคยทำมาก่อนแล้วย่อมปลอดภัย ไม่ควรไปพูดขัดคอคน เพราะจะทำ ให้เขาโกรธไม่พอใจ ให้รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา นักเลงเก่าเขาไม่รังแกหรือทำร้ายนักเลงด้วยกัน

บทที่ ๑๖
                             เป็นผู้หญิงแม่หม้ายที่ไร้ผัว             ชายมักยั่วทำเลียบเทียบข่มเหง
                   ไฟไหม้ยังไม่เหมือนคนที่จนเอง    ทำอวดเบ่งกับขื่อคาว่ากระไร

ถอดความได้ว่า   ผู้ที่เป็นหญิงหม้ายมักถูกผู้ชายพูดจาแทะโลม  เหมือนกับถูกข่มเหง คนที่จนเพราะถูกไฟไหม้ ยังน่าสงสาร หรือดีกว่าตนเองที่ทำตัวเองให้จน (จนเพราะเล่นการพนัน) และอย่าอวดเก่งกับขื่อคาที่เป็นเครื่องจองจำ (อย่า แสดงอำนาจโอ้อวดทำสิ่งที่ท้าทายกับบทลงโทษ)

บทที่ ๑๗
                  อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก                    ไปมาผลักย่อยเข้าเสายังไหว
           จงฟังหูไว้หูคอยดูไป                            เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ

ถอดความได้ว่า   แม้จะมั่นคงดังเสาหินใหญ่สูงแปดศอก แต่เมื่อถูกผลักบ่อย ๆ เข้า เสานั้นก็อาจคลอนแคลนได้เปรียบ เหมือนใจคนย่อมอ่อนไหวไปตามคำพูด ของผู้อื่นได้ ฉะนั้น จึงควรฟังหูไว้หู และคิดให้รอบคอบก่อนที่จะเชื่อใคร (สอนให้มีใจคอหนักแน่นไม่หลงเชื่อยุยงโดยง่าย ให้รู้จักไตร่ตรองให้ดีเสียก่อนที่ จะคล้อยตามคำพูดของผู้อื่น)

บทที่ ๑๘
                         หญิงเรียกแม่ชายเรียกพ่อยอไว้ใช้                 มันชอบใจข้างปลอบไม่ชอบดุ
              ที่ปิดที่ชิดไขให้ทะลุ                                คนจักษุเหล่หลิ่วไพล่พลิ้วพลิก

ถอดความได้ว่า   เมื่อเวลาจะใช้ใครให้รู้จักพูดจาโดยใช้ถ้อยคำที่อ่อนหวาน ซึ่งใคร ๆ ก็ชอบ ไม่ควรใช้คำดุด่าว่ากล่าว สิ่งใดที่ปล่อยปละละเลย หรือฟุ่มเฟือยก็ต้องเข้มงวดกวดขันหรือประหยัดถี่ถ้วนขึ้นสิ่งใดที่เข้มงวดตระหนี่ถี่เหนียวจนเกินไป จะต้องแก้ไขทำให้สะดวก หรือคล่องตัวขึ้น และจงประพฤติตน
ตาม ที่คนส่วนใหญ่เขาประพฤติกัน 

บทที่ ๑๙
               เอาปลาหมอเป็นครูดูปลาหมอ                บนบกหนออุตส่าห์เสือกกระเดือกกระดิก
       เขาย่อมว่าฆ่าควายเสียดายพริก                     รักหยอกหยิกยับทั้งตัวอย่ากลัวเล็บ

ถอดความได้ว่า  จงดูปลาหมอไว้เป็นครูสอนใจเรา แม้ปลาหมอจะถูกปล่อยไว้บนบก มันก็ยังกระเสือกกระสนเพื่อจะเอา ชีวิตรอด  ฉะนั้นคนเราจึงไม่ควรพ่ายแพ้แก่อุปสรรค  ต้องดิ้นรนขวนขวายต่อสู้ชีวิตต่อไป


บทที่ ๒๐
                   มิใช่เนื้อเอาเป็นเนื้อก็เหลือปล้ำ                      แต่หนามคำเข้าสักนิดกรีดยังเจ็บ
           อันโลภลาภบาปหนาตัณหาเย็บ                   เมียรู้เก็บผัวรู้กำพาจำเริญ

ถอดความได้ว่า   คนเราถ้าไม่ใช่เนื้อคู่กัน อยู่ไปก็เปล่าประโยชน์อาจจะมีเรื่องราวกัน ไม่ผิดอะไรกับถูกหนามตำเข้านิดเดียว    ก็เกิดอาการเจ็บปวด ความโลภเป็นบาปทำให้เกิดความอยาก สามีภรรยาคู่ใดถ้าภรรยารู้จักออมรู้จักเก็บ สามี รู้จักทำหากินก็จะทำให้ชีวิตที่สมบูรณ์

บทที่ ๒๑
                    ถึงรู้จริงจำไว้อย่าไขรู้                               เต็มที่ครู่เดียวเท่านั้นเขาสรรเสริญ
           ไม่ควรก้ำเกินหน้าก็อย่าเกิน                         อย่าเพลิดเพลินคนชังนักคนรักน้อย

ถอดความได้ว่า   แม้ว่าเราจะรู้จริง เราก็ไม่ต้องอวดว่าเรารู้ เดี๋ยวเขาก็จะสรรเสริญเอง ไม่ควรทำอะไรเกินหน้าเกินตาคนอื่น เพราะคนเกลียดเรามีมากกว่าคนรักเรา

บทที่ ๒๒
                            วาสนาไม่คู่เคียงเถียงเขายาก                   ถึงมีปากมีเสียเปล่าเหมือนเต่าหอย
                ผีเรือนตัวไม่ดีผีอื่นพลอย                             พูดพล่อย ๆ ไม่ดีปากขี้ริ้ว

อดความได้ว่า   ถ้าไม่มียศถาบรรดาศักดิ์เสมอเขา ไปโต้เถียงกับเขาก็ไม่มีประโยชน์เพราะไม่มีใครเชื่อ  คนในบ้านนั่นแหละเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้า มาทำความเสียหาย การพูดพล่อย ๆ โดยไม่คิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

บทที่ ๒๓
                            แต่ไม้ไผ่อันหนึ่งตันอันหนึ่งแขวะ               สีแหยะแหยะตอกตะบันเป็นควันฉิว
                ช้างถีบอย่าว่าเล่นกระเด็นปลิว                     แรงหรือหิวชั่งใจดูจะสู้ช้าง

ถอดความได้ว่า   แม้ไม้ไผ่อันหนึ่งตัน กับอีกอันหนึ่งผ่าครึ่งออก  เมื่อนำมาสีกันเบา ๆ อาจเกิดควันได้ ฉะนั้นจงอย่าได้ ประมาทการกระทำที่ดูเหมือนจะไม่ เป็นพิษเป็นภัย  ช้างเป็นสัตว์ที่มีพลังเมื่อมันถีบเรา
รับรองว่ากระเด็นแน่นอน  ฉะนั้นหากจะสู้กับช้างก็ควรประเมินกำลังของเราเสียก่อนว่าอยู่ในภาวะใดมีกำลัง หรือ อ่อนแรง  จะเตรียมสู้ หรือหนี ดูให้เหมาะแก่สถานการณ์


บทที่ ๒๔
                         ล้องูเห่าก็ได้ใจกล้ากล้า                            แต่ว่าอย่ายักเยื้องเข้าเบื้องหาง
               ต้องว่องไวในทำนองคล่องท่าทาง                ตบหัวผางเดียวม้วนจึงควรล้อ

ถอดความได้ว่า   การล้อเล่นกับงูเห่าซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอันตรายมาก ทำได้ แต่ต้องเป็นคนใจกล้า แต่อย่าไปเข้าข้างหางเพราะอาจเกิดอันตรายได้ และต้องทำด้วยความว่องไวอย่างเด็ดขาดทันที จึงจะไม่ตกอยู่ในฐานะที่เพลี่ยงพล้ำ

บทที่ ๒๕
                      ถึงเพื่อนฝูงที่ชอบพอขอกันได้                       ถ้าแม้ให้ทุกคนกลัวคนขอ
            พ่อแม่เลี้ยงปิดปกเป็นกกกอ                       จนแล้วหนอเหมือนเปรตด้วยเหตุจน

ถอดความได้ว่า   การจะขออะไรกับเพื่อนฝูงที่ชอบพอกันก็สามารถขอกันได้  แต่จะให้ทุกคนที่ขอคงไม่ได้พ่อแม่เลี้ยงดู ทะนุถนอมมาเป็นอย่างดี  ถ้าหากเป็นคนจนก็จะเหมือนเปรตที่เที่ยวขอส่วนบุญ

บทที่ ๒๖
                          ถึงบุญมีไม่ประกอบชอบไม่ได้                       ต้องอาศัยคิดดีจึงมีผล
           บุญหาไม่แล้วอย่าได้ทะนงตน                                   ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืน

ถอดความได้ว่า   ถึงมีบุญวาสนา ไม่ทำการงานใด ๆ ก็ไม่ดีต้องเป็นผู้ที่คิดดี ทำดีบุญจึงส่งผล เมื่อหมดบุญลงแล้วอย่า ทะนงตนว่าเป็นผู้มีบุญบารมี ขอให้คนเราคิดว่าความรักความชังนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืนเท่าการทำความดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น